Free CursorsMyspace LayoutsMyspace Comments

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557


สรุปบทความ

                          วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

                   เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ การหยิบจับ สัมผัส และการสังเกต  การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ เรื่องพืช สัตว์ เวลา ฤดูกาล น้ำ และอากาศร่วมด้วย   วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการสังเกตโลกรอบตัวและการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ศึกษาตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ อย่างเช่นแมลงในสนามหญ้า ไปจนถึงสิ่งใหญ่ ๆ อย่างดวงดาว ในขณะที่เด็ก ๆ กำลังมองผ่านกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องส่องทางไกล นั่นเท่ากับว่าเด็ก ๆ กำลังเก็บรายละเอียดหรือเก็บข้อมูล ยิ่งดูมาก สังเกตมาก ก็ยิ่งได้ข้อมูลมาก เคยได้ยินเด็ก ๆ ตั้งคำถามแบบนี้กันบ้างไหม... ”ทำไมปลาไม่นอน” “ทำไมต้นหญ้าหน้าตาเหมือนต้นข้าว” “ภาพในโทรทัศน์เกิดขึ้นได้อย่างไร” “ทำไมเรือลำใหญ่ ๆ จึงไม่จมน้ำ” คือจุดเริ่มต้นของทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ไม่ควรมองข้าม

วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก
              1. กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล พิสูจน์ได้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอย ๆ
              2. พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ ไม่มีทฤษฎีใดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ครั้งหนึ่งคนเคยเชื่อว่าโลกแบน แต่ กาลิเลโอ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโลกกลม
              3. จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
              4. ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ อาจคิดอย่างเป็นเหตุผลและเป็นระบบอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี เขาจะมีความสุขและสามารถต่อยอดไปในชั้นสูง ๆ ได้

              การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
              1.คุณลักษณะตามวัยด้านร่างกาย เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้สำรวจสิ่ง ต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
              2.คุณลักษณะตามวัยด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้สำรวจและทดลองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็ก ๆ
              3. คุณลักษณะตามวัยด้านสังคม เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว เด็ก ๆ ได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน
              4.คุณลักษณะตามวัยด้านสติปัญญา เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้สำรวจตรวจสอบ ทดลอง หรือสืบค้นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็ก ๆ ได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่าย


สรุป
             กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ
1. การฝึกทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์
2. การเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน โดยเน้น
การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
 1) การสังเกต
 2) การจำแนก เปรียบเทียบ 
 ) การวัด
 4) การสื่อสาร 
 5) การทดลอง และ
 6) การสรุปและนำไปใช้
          สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยค้นคว้า การสืบเสาะ และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย



ตัวอย่างการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรม ขุมทรัพย์บนพื้นหญ้า

ผิวสัมผัส : สิ่งแรกที่เด็กจะได้รับคือการได้สัมผัสกับสิ่งที่เป็นธรรมชาติ อย่างน้อยก็ผืนดินที่ปกคลุมไปด้วยหญ้าซึ่งแซมด้วยวัชพืชต่าง ๆ ให้มือของเด็กได้สัมผัสดิน ใช้เท้าวิ่งไปบนผืนหญ้าอ่อนนุ่ม ให้ความรู้สึกต่างกับพื้นยางหรือลานปูนมากเลยทีเดียว ซึ่งอย่างน้อย ๆ ก็ทำให้เด็กได้คุ้นเคยกับผิวสัมผัสต่าง ๆ แบบกันไป
การสังเกต : หากเปลี่ยนจากจอทีวีมาเป็นสนามหญ้ากว้างสีเขียวได้ก็จะดีมาก เพราะนอกจากจะช่วยฝึกสายตาแล้ว ยังสอนให้เด็กรู้จักหัดสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอีกด้วย


อ้างอิง : http://kunkruoum.blogspot.com/2011/08/blog-post_28.html


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright © Science Experiences Management for Early Childhood. Template created by Volverene from Templates Block | Downloaded from Free Templates
lasik surgery new york and cpa website solutions
WP theme by WP Themes Expert